ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Banana, Cultivated banana
Banana, Cultivated banana
Musa sapientum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Musaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.
 
  ชื่อไทย กล้วยน้ำว้า
 
  ชื่อท้องถิ่น แผละตุ้ม(ลั้วะ), เจ้าวหมั่ว(ม้ง), กล้วย(ไทลื้อ), กล้วยไต้(คนเมือง), น่อมจิ่วซบ(เมี่ยน), เส่อกุ้ยโซ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), น่อมจิ่วซบ(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน (rhizome) อายุได้หลายปี ลำต้นบนดินรูปทรงกระบอก สูง 2-9 เมตร เป็นลำต้นปลอม เกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกัน ใบ ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปขอบขนาน ท้อง
ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath)
ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา
ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]
 
  ใบ ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath)
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา
 
  ผล ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ม้ง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล ปลี หยวก รับประทานได้(เมี่ยน)
หัวปลี ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ หรือรับประทานสด, ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ผลสุก ประกอบพิธีกรรม(คนเมือง)
- ใบ ใช้ห่ออาหารหรือขนม(คนเมือง)
ลำต้น(หยวก) ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,เมี่ยน)
- เปลือกผล แก้ริดสีดวง
ผลกล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว รักษาอาการไม่ย่อย ท้องอืดมีกรดมาก สมานแผล แก้บิดมูกเลือด
ผลกล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร
ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ ½-1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ปิดรักษาตาอักเสบ
ใบกล้วย แก้ท้องเสีย ห้ามเลือด แก้บิด แก้ผื่นคันตามผิวหนัง
ต้นกล้วย ทากันผมร่วงและกระตุ้นให้ผมงอก
หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือกาบกล้วย รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ไข้รากสาด ขับน้ำเหลืองเสีย
ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม และคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
เหง้ากล้วยแห้ง ตำป่นทาท้องน้อยคนคลอดบุตรทำให้รกลอกภายหลังคลอดบุตร
ยางกล้วย ใช้ห้ามเลือด [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง